หัวหน้าพยาบาล รพ.จุฬาฯ : “เหรียญ...

2
ต่อหน้า 2 หัวหน้าพยาบาล รพ.จุฬาฯ : “เหรียญฟลอเรนซ์ ไนติงเกล” ... 2554 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อุปนายิกา ผู้อำนวยการ สภากาชาดไทย พระราชทาน “เหรียญฟลอเรนซ์ ไนติงเกล” แก่ นางอุษา ราชปรีชา หัวหน้าพยาบาล ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เมื่อ วันพฤหัสบดีที่ 16 มิถุนายน 2554 เวลา 15.00 น. ห้องประชุมใหญ่ อาคารเทิดพระเกียรติฯ (ชั้น 9) ในโอกาสที่ เสด็จฯ ไปทรงเป็น ประธานการประชุม กรรมการสภากาชาดไทย ครั้งที่ 301 รางวัล “เหรียญฟลอเรนซ์ ไนติงเกล” (The Florence Nightingale Medal) เป็นเหรียญซึ่ง คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (International Committee of the Red Cross : ICRC) จัดทำขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แกมิสฟลอเรนซ์ ไนติงเกล เพื่อระลึกถึงคุณงามความดี ความเสียสละที่อุทิศตน ในการพยาบาลผู้ป่วยทั้งในยามสงบและสงคราม เป็นผู้วางรากฐานการพยาบาล และเป็นผู้ก่อกำเนิด วิชาชีพการพยาบาล เหรียญนี้สร้างขึ้นโดย คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ เมื่อ พ.ศ.2455 โดยกำหนดการมอบทุกๆ 2 ปี

Upload: others

Post on 13-Jul-2020

9 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: หัวหน้าพยาบาล รพ.จุฬาฯ : “เหรียญ ...pr.md.chula.ac.th/spotlight/year3/03-30.pdfฟลอเรนซ ไนต งเกล”

ต่อหน้า 2

หัวหน้าพยาบาล รพ.จุฬาฯ : “เหรียญฟลอเรนซ์ ไนติงเกล” ... 2554

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อุปนายิกา ผู้อำนวยการ สภากาชาดไทย พระราชทาน “เหรียญฟลอเรนซ์ ไนติงเกล” แก่ นางอุษา ราชปรีชา หัวหน้าพยาบาล ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เมื่อ วันพฤหัสบดีที่ 16 มิถุนายน 2554 เวลา 15.00 น. ณ ห้องประชุมใหญ่ อาคารเทิดพระเกียรติฯ (ชั้น 9) ในโอกาสที่ เสด็จฯ ไปทรงเป็น ประธานการประชุมกรรมการสภากาชาดไทย ครั้งที่ 301 รางวัล “เหรียญฟลอเรนซ์ ไนติงเกล” (The Florence Nightingale Medal) เป็นเหรียญซึ่ง คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (International Committee of the Red Cross : ICRC) จัดทำขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แก่ มิสฟลอเรนซ์ ไนติงเกล เพื่อระลึกถึงคุณงามความดี ความเสียสละที่อุทิศตน ในการพยาบาลผู้ป่วยทั้งในยามสงบและสงคราม เป็นผู้วางรากฐานการพยาบาล และเป็นผู้ก่อกำเนิดวิชาชีพการพยาบาล เหรียญนี้สร้างขึ้นโดย คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ เมื่อ พ.ศ.2455 โดยกำหนดการมอบทุกๆ 2 ปี

Page 2: หัวหน้าพยาบาล รพ.จุฬาฯ : “เหรียญ ...pr.md.chula.ac.th/spotlight/year3/03-30.pdfฟลอเรนซ ไนต งเกล”

ศูนย์ประชาสัมพันธ์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ตึกอานันทมหิดล โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โทร. (02) 256 4183, 256 4462 โทรสาร (02) 252 5959 E-mail: [email protected], [email protected]

ติดตามอ่าน “สารสัมพันธ์” ฉบับ “Spotlight” ได้ที่ http://www.md.chula.ac.th/thai http://www.md.chula.ac.th http://www.facebook.com/prmdcu http://www.twitter.com/prmdcu

เมื่อ วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ ณ นครเจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ได้ประกาศผลการคัดเลือกผู้ได้รับรางวัล “เหรียญฟลอเรนซ์ ไนติงเกล” ครั้งที่ 43 ประจำปี 2554 ผู้ได้รับรางวัล “เหรียญฟลอเรนซ์ ไนติงเกล” จากประเทศต่างๆ 19 ประเทศ รวม 1,379 คน สำหรับ ประเทศไทย มี เจ้าหน้าที่ สภากาชาดไทย ได้รับการพิจารณาเข้ารับรางวัล “เหรียญฟลอเรนซ์ ไนติงเกล” จำนวน 5 คน ดังนี้

1. นางอุษา ราชปรีชา หัวหน้าพยาบาล ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

2. นางสาวสมสิริ อนงคณะตระกูล ผู้ชำนาญการพิเศษพยาบาล 7 งานบริการทางการแพทย์ ฝ่ายบริการทางการแพทย์ สำนักงานบรรเทาทุกข์และ ประชานามัยพิทักษ์ สภากาชาดไทย

3. นางสาวภาวิณี อยู่ประเสริฐ หัวหน้าฝ่ายบรรเทาทุกข์ผู้ประสบภัย สำนักงานบรรเทาทุกข์และ ประชานามัยพิทักษ์ สภากาชาดไทย

4. นางสาวเพ็ญศิริ เมฆโหรา หัวหน้ากลุ่มงานอบรมปฐมพยาบาล ศูนย์ฝึกอบรมปฐมพยาบาลและ สุขภาพอนามัย สภากาชาดไทย

5. ดร.กำไลรัตน์ เย็นสุจิตร อาจารย์ภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชน และจิตเวช วิทยาลัยพยาบาล สภากาชาดไทย

มิสฟลอเรนซ์ ไนติงเกล (Florence Nightingale) บุรพาจารย์แห่งวิชาชีพการพยาบาล ถือว่าเป็นผู้บุกเบิกการพยาบาลสมัยใหม่ ได้อุทิศชีวิตเพื่อดูแลคนเจ็บและทหารในฐานะพยาบาล ช่วงที่อังกฤษส่งทหารไปรบกับรัสเซียในสงครามไครเมีย จนได้รับสมญานามว่า “The lady of the lamp” หรือ “สุภาพสตรีแห่งดวงประทีป” มิสฟลอเรนซ์ ไนติงเกล เกิดที่เมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี เมื่อ ค.ศ.1820 เป็นผู้มีความเฉลียวฉลาดและมีอุดมการณ์มุ่งมั่น ในการเป็นพยาบาล ทำงานเสียสละเพื่อดูแลผู้เจ็บป่วย แต่งานพยาบาล สมัยนั้นไม่ได้รับการสนับสนุน เมื่อเกิดสงครามไครเมีย มิสฟลอเรนซ์ ไนติงเกล ได้อาสาสมัครไปช่วยดูแลทหารที่ได้รับการบาดเจ็บจากสงคราม ทุ่มเททั้งกำลังกายและกำลังทรัพย์เพื่อดูแลทหารที่บาดเจ็บ และออกตรวจเยี่ยมให้กำลังใจทหารแม้ในเวลาค่ำคืน ซึ่งเป็นที่มาของ สมญานามว่า “The lady of the lamp” หรือ “สุภาพสตรีแห่ง ดวงประทีป” ภายหลังสงครามได้มีผู้ร่วมก่อตั้งกองทุนการศึกษา “ไนติงเกล” สำหรับพยาบาล เพื่อเป็นเกียรติแก่ มิสฟลอเรนซ์ ไนติงเกล ซึ่งได้รับ การยอมรับให้เป็นผู้จัดระเบียบด้านสุขภาพในกองทัพประเทศอังกฤษ วางแผนงานด้านสุขาภิบาลในประเทศอินเดีย และตั้งโรงเรียนพยาบาล ที่เป็นต้นแบบของโรงเรียนพยาบาลทั่วโลก มิสฟลอเรนซ์ ไนติงเกล ถึงแก่กรรมเมื่ออายุ 90 ปี

นางอุษา ราชปรีชา หัวหน้าพยาบาล โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ การศึกษา อุดมศึกษา : l อนุปริญญาพยาบาลอนามัยและผดุงครรภ์ พ.ศ. 2517 วิทยาลัยพยาบาล สภากาชาดไทย l พยาบาลศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช พ.ศ. 2529 l ประกาศนียบัตรการพยาบาลเฉพาะทางโรคไร้เชื้อ พ.ศ. 2538 วิทยาลัยพยาบาล สภากาชาดไทย l Mini MBA in health รุ่นที่ 18 พ.ศ. 2544 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย l พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบริหารการพยาบาล พ.ศ. 2550 คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย l ประกาศนียบัตรหลักสูตรการบริหารและ พ.ศ. 2552 พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ไปสู่องค์กรยุคใหม่ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ l เบญจมาภรณ์มงกุฏไทย (บ.ม.) พ.ศ. 2525 l ตริตาภรณ์มงกุฏไทย (ต.ม.) พ.ศ. 2530 l ตริตาภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.) พ.ศ. 2534 l เหรียญกาชาดสรรเสริญทำงานครบ 15 ปี พ.ศ. 2537 l ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.) (ชั้นที่2) พ.ศ. 2542 l ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.) พ.ศ. 2546

ประวัติการทำงาน l พยาบาลวิชาชีพ แผนกอายุรกรรมชาย พ.ศ. 2518 - 2532 l พยาบาลวิชาชีพ แผนกรังสีรักษา ผู้ป่วยโรคมะเร็ง พ.ศ. 2532 - 2541 ที่รับการรักษาด้วยการฉายรังสี ใส่แร่และการให้ยาเคมีบำบัด l หัวหน้าหอผู้ป่วย ตึก “จุฬาภรณ์” (ชั้น 3) พ.ศ. 2541 - 2542 หน่วยไฟไหม้-น้ำร้อนลวก ( Burn Unit) l หัวหน้าหอผู้ป่วย ตึก “มงกุฎ−เพชรรัตน” (ชั้น3) พ.ศ. 2543 - 2545 หน่วยอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน (Trauma Ward) l ผู้ตรวจการพยาบาล เฉพาะทางวิกฤตรับผิดชอบหอผู้ป่วย พ.ศ. 2546 - 2547 PICU, ICU ศัลยกรรมหัวใจ และทรวงอก ตึก “สก” (ชั้น5) l ผู้ตรวจการพยาบาล ด้านทรัพยากรบุคคล พ.ศ. 2548 - 2549 l ผู้ช่วยหัวหน้าพยาบาล ด้านพัฒนาบริการพยาบาล พ.ศ. 2549 - 2552 l หัวหน้าพยาบาล โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย พ.ศ. 2552 - ปัจจุบัน

กิจกรรมอื่นๆ l ผู้เยี่ยมสำรวจของสถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล (พรพ.) l ที่ปรึกษาโครงการผสมผสานแนวคิดโรงพยาบาลสร้างเสริมสุขภาพ (HPH) และการพัฒนาคุณภาพ (HA) ลงสู่การปฏิบัติ l วิทยากรพัฒนาคุณภาพงานบริการของหอผู้ป่วย ฝ่ายการพยาบาล (PI) l วิทยากรบรรยายการประชุมเชิงปฏิบัติการอบรมหลักสูตร การบริหาร การพยาบาล 1 และ 2 l วิทยากรบรรยายการพัฒนาคุณภาพตามมาตรฐาน โรงพยาบาลสำหรับพยาบาล ระดับ 7 สำนักงานศูนย์อนามัยเขต กทม. l กรรมการวิเคราะห์และจัดทำหลักสูตรเฉพาะทางการบริหารการพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย l กรรมการบริหารความเสี่ยงของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

ข้อคิดในการทำงาน ทำงานโดยยึดถือพระราชดำรัสของ “สมเด็จพระมหิตลาธิเบศ อดุลยเดชวิกรมพระบรมราชชนกฯ” l ขอให้ถือประโยชน์ส่วนตนเป็นที่ 2 ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง l ความสำเร็จของการศึกษาที่แท้จริง ไม่ได้ขึ้นอยู่กับการมีความรู้มาก แต่ขึ้นอยู่กับการนำความรู้นั้นมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์แก่สังคม ได้มากเพียงไร